ผลการประชุมของผู้กำหนดนโยบายทางการเงิน (FOMC ) ของเมื่อวันที่ 13 เดือนมิถุนายนได้มีการนำเสนอออกมาเมื่อวันศุกร์ และไม่ได้สร้างผลกระทบที่สำคัญออกมาต่อ การคาดการณ์ต่ออัตราดอกเบี้ยของทางตลาด ดังนั้นแล้ส ตลาดมีความมั่นใจว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน แต่ก็ยังไม่มีความคิดเห็นที่แน่นอนสำหรับช่วงปีนี้ อ้างอิงข้อมูลจากสถาบัน CME ที่ได้ระบุถึง ความเป็นไปได้ต่อการปรับข้อมูลทางตลาดในอนาคตให้สูงขึ้นราวๆ 50% ในวันจันทร์ตอนเช้า
โดยทั่วไปแล้ว ผลการประชุมออกมามีแนวโน้มของการควบคุมเศรษฐกิจ แต่ก็มีแนวโน้มตามที่ได้คาดการณ์กันเอาไว้ ทางด้านสมาชิกของคณะกรรมการ ก็ยังไม่แน่นอนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ในช่วงปี 2019 และ 2020 โดยยังเกี่ยวโย้งกับ แผนการนี้ กับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ในอัตราสูงกว่า 2% สำหรับ การนำเสนอความคิดเห็นที่ว่า อัตรานั้นมีการปรับตัวที่มากเกินกว่า อัตราแหล่งทุนสำรองของทางธนาคารหลายแห่งที่ปรับตัวช้ากว่า อัตราการลดระดับ และส่วนต่างนี้ จะช่วยให้ธนาคารต่างๆสามารถหาแหล่งเงินทุนสำรองในตราสารทางการเงินอื่นๆ ได้
นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับ ความเสี่ยงทางการค้า แต่ดูก็เหมือนว่าจะยังเป็นเรื่องของภาษี เนื่องจากมันไม่สามารถหลีกเลี่ยงหัวข้อนี้ไปได้ มันเป็นผลที่ทำให้ตลาดยังไม่บรรลุข้อตกลงใหม่ร่วมกันได้ และเงินดอลลาร์ก็มีมูลค่าที่ลดลงไปทีละเล็กละน้อย
ประเด็นหลักในวันศุกร์นี้ จะแสดงให้เห็นถึงสองเหตุการณ์ ก็คือ การรายงานเกี่ยวกับตลาดแรงงาน และจุดเริ่มต้นของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและ ประเทศจีน
รายงานจากตลาดแรงงาน เปิดเผยออกมาถึง ความเชื่อมั่นภายนอก ในขณะที่ยังมี การเติบโตของจำนวน การจ้างงานใหม่ที่ มากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ แล้วยังมีการปรับระดับเพิ่มขึ้น ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ส่วนอัตราการว่างงานก็ได้เพิ่มขึ้นมาจาก 3.8% เป็น 4.0% แต่ตลาดก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากประเด็นนี้ เนื่องจาก ระดับการมีส่วนร่วมของแรงงาน พบวามีการเพิ่มขึ้นอย่างพร้อมกัน ในขณะที่ยังขาด การเปลี่ยนแปลงในอัตราการเติบโตของค่าจ้างโดยเฉลี่ย (2.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ต่อการคาดการณ์ ที่ 2.8%) ที่ดูแล้วอยู่ในแนวโน้มที่ดีทั้งหมด
การคาดการณ์ของตลาด สำหรับอัตราดอกเบี้ยของเฟด เห็นได้ชัดว่าอยู่ในช่วงการควบคุมทางเศรษฐกิจ และยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นแล้ว การเติบโตของค่าจ้างที่ไม่เพียงพอ อาจทำหน้าที่เป็นปัจจัยในการบลดระดับ และทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของนโยบายที่เลือกมาใช้งานนี้
หลังจากที่การนำเสนอรายงานนี้ออกมาแล้ว เงินดอลลาร์ก็เริ่มอ่อนตัวลง และปิดตัวในรอบสัปดาห์ โดยมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศ G10
ในช่วงเริ่มต้นของ การเกิดสงครามการค้าที่จริงจังระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ทางด้านตลาดได้มีปฏิรกริยาตอบสนองอย่างสงบนิ่ง ทางด้านสหรัฐอเมริกา ได้ออกมากำหนดภาษีต่อสินค้าจากประเทศจีน โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 34 พันล้านเหรียญ และทางประเทศจีนเองก็ตอบโต้กลับอย่างทันที สำหรับประเทศที่มีเศรษฐกิจหมุนเวียนระกับหลาล้านล้านหยวนนั้น เงินจำนวนนี้ค่อนข้างน้อยมาก แต่ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณที่มากขึ้นอีกด้วย ในส่วนของการเติบโตของโลกที่ชะลอตัวลงไป และกิจกรรมทางธุรกิจที่อยู่ในระดบัสูงสุด ในช่วงกลางปี 2017 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้ลดระดับลงมาเรื่อยๆ แต่ในอุปสงค์ของโลหะ ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่ค่อนข้างแม่นยำต่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
การก่อตัวขึ้นเรื่อยๆของสงครามการค้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางด้านประเทศจีน ก็กำลังทำงานอย่างเร่งรีบ เพื่อรวมกลุ่มกับ เศรษฐกิจในภูมิภาคเข้าหากันกับสหภาพแรงงาน ตามที่ตั้งใจไว้จะร่วมกันต่อต้าน แนวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ยังมีอีก 16 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้วประเทศจีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย ที่ได้สร้างสหภาพการค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งสหรัฐอเมริกายังไม่พบกับข้อมูลนี้ จนกว่าจะถึงช่วงสิ้นปี เอกสารที่สำคัญทั้งหมด คาดว่าจะได้รับการลงนาม และประเทศเหล่านี้ก็จะเริ่มดำเนินการตามนโยบายอัตราภาษี ตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งหมายความว่า คำตอบสำหรับการดำเนินการของฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกา ก็จะเริ่มมีประเด็นอื่นตามมามากขึ้น
อ้างอิงตามหลักการ "16 + 1" จะพบว่า การประชุมที่จัดขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่โซเฟีย ได้มีการเข้าร่วม โดยประเทศต่างๆในยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก เช่นเดียวกับประเทศจีน ส่วนวาระการประชุม ก็จะเกี่ยวข้องกับประเด้นเดิมๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาในแนวทางการค้าแบบครบวงจร หลายๆประเทศที่ได้พึ่งพา การค้าเสรีภายใต้เงื่อนไขของสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา และได้ตั้งใจที่จะสร้างยุทธศาสตร์แบบเป็นปึกแผ่นภายใต้กรอบของกฎขององค์กรการค้าโลก (WTO)
เหตุการณ์เหล่านี้ ได้ชี้ให้เห็นถึง จุดเริ่มต้นที่เห็นได้ชัดเจนของสงครามการค้าแบบเต็มรูปแบบ และความเสี่ยงจากการที่สหรัฐอเมริกา จะสูญเสียมากกว่าที่จะได้รับกลับคืนมา
สกุลเงินดอลลาร์มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะ และดูเหมือนว่าจะไม่ได้เป็นสกุลเงินที่แสนจะ "โปรดปราน" อีกต่อไป นโยบายของทางด้านเฟด ที่ตั้งใจทำให้เกิดสภาวะทางการเงินแบบรัดกุมมากขึ้น ได้ส่งผลต่อการลดลงของฐานการเงิน และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ แต่การขจัดความเสี่ยงออกไปจากการหมุนเวียนของสินค้าโภคภัณฑ์จากทั่วโลก ก็ดูเหมือนเป็นลางไม่ดี
ในวันจันทร์จะพบได้ว่า เงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลงมาเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ อ้างอิงข้อมูลตามการปรับตัวคู่สกุลเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐ (EUR / USD) นั้นอาจจะพบการทดสอบในระดับ 1.18 และความพยายามที่จะได้รับการตั้งหลักใหม่ที่สูงขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่คู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ (GBP / USD) เองก็มีเป้าหมายที่ 1.3450 อยู่แล้ว ส่วนวันนี้ พวกเราก็สามารถทดสอบ แนวต้านในระดับกลางที่ 1.3370 ได้เพื่อความแข็งแกร่ง
* การวิเคราะหืทางตลาดที่นำเสนอออกมานั้น เป็นเพียงข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำการทำธุรกรรมทางการเงิน