อะไรที่ขึ้นไปสูง ก็มักจะตกลงมาหนักพอสมควร ในเดือนเมษายน เงินปอนด์ได้ขยับตัวไปในระดับสูงที่สุด ตั้งแต่ช่วงการลงประชามติ ของประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป หลังจากนั้นก็ได้ปรับตัวลงมา หลังจากที่มีคำแถลงการณ์ของคุณ Mark Carney ที่ออกมาแบบต้องการให้มี "การกระตุ้นทางเศรษฐกิจ" ส่วนประธานของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ก็ออกมากล่าวว่า ตลาดได้ประเมินโอกาสสูงเกินไปสำหรับการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายในเดือนพฤษภาคม และคณะกรรมการนโยบายทางการเงินเองก็จะมีการประชุมกัน ที่จะมาตัดสินใจเกี่ยวกับการรัดกุมทางการเงินที่จะเกิดขึ้นมา ดังนั้นแล้ว มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการปรับนโยบายทางการเงินกลับมาสู่สภาพเดิมในวันที่ 10 เดือนพฤษภาคม จาก 82% ที่อาจจะลดลงมาถึง 56% แล้วอาจจะทำให้ผู้ครอบครองเงินปอนด์ประสบกับการปรับตัวลงของมูลค่า
การคลื่อนไหวของแนวโน้มการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามนโยบาย
จากการแถลงการณ์ของคุณ Mark Carney ที่ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนถึงแนวโน้มในอนาคตของทาง คณะกรรมการด้านนโยบายทางการเงินที่จะขึ้นอยู่กับข้อมูลทางสถิติของเศรษฐศาสตร์เชิงมหภาค โดยล่าสุดนี้ก็ยังไม่ได้มีการตัดสินใจออกมา สำหรับค่าจ้างโดยเฉลี่ยที่ได้มีการปรับตัวขึ้นมา 3% ก็ได้พบกับการปรับตัวลงมาถึง 2.5% ในระดับเงินเฟ้อ และการรายงานข้อมูลด้านการค้าปลีก (+1.1% เมื่อเทียบกับ +2%ในเดือนมีนาคม) และแน่นอนว่า ทางธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเองก็ทราบว่า อะไรที่การดำเนินการของ Brexit จะกระทบต่อสหราชอาณาจักรอังกฤษ และควรจะใช้ข้อดีจากช่วงเปลี่ยนผ่านที่ได้รับมานั้น ในการปรับอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายให้สูงขึ้นมา มิฉะนั้นแล้วอาจจะไม่มีการช่วยเหลือที่สำคัญสำหรับด้านเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การรัดกุมนโยบายทางการเงินจะอยู่ในเงื่อนไขที่ว่ายอด GDP ได้ชะลอตัวลงไปอย่างมาก มันจึงอาจจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจ ดังนั้นแล้วทางธนาคารแห่งประเทศอังกฤษอาจจะต้องคิดทบทวนก่อนที่จะดำเนินการตัดสินใจออกมา
ดูเหมือนว่าแนวทางนี้จะยังไม่ได้นำเสนอโดยคุณ Mark Carney แต่เพียงผู้เดียว เพราะว่าสมาชิกในคณะกรรมการผู้กำหนดนโยบายทางการเงินอย่าง Mark Saunders เองก็ออกมากล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ และไม่รวดเร็ว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในแนวโน้มของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ จาก "การควบคุมเงินเฟ้อ" ไปเป็น "กากรระตุ้นทางเศรษฐกิจ" ที่จะมาพร้อมกับ การรายงานข้อมูลทางตัวเลขจากตลาดแรงงาน, ระดับเงินเฟ้อ และยอดการค้าปลีก ที่จะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหว แต่ "แนวโน้มขาขึ้น" เองก็ยังไม่ได้ก่อตัวขึ้นมาในตอนนี้ ทางด้าน ING, Nomura, Credit Agricole, CBA Europe, MUFG และ Canadian Imperial Bank ต่างก็เห็นด้วยที่ให้ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษตัดสินใจเกี่ยวกับการรัดกุมทางการเงินในเดือนพฤษภาคม ถ้าตลาดเชื่อแนวทางพวกเขา คู่สกุลเงิน GBP/USD ก็จะเริ่มต้นปรับตัวขึ้นมาจากสถานะการขาดทุน
จากการปรับตัวลงมาอย่างมากของเงินปอนด์ที่อาจจะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีการตื่นตัวของผู้ครอบครองอย่างมากในวันก่อนหน้านี้ สำหรับกองทุนป้องกันความเสี่ยง และนักเก็งกำไรคนอื่นในช่วงสัปดาห์วันที่ 17 เดือนเมษายน ก็ได้เพิ่มระยะการฝากเงินระยะยาวทั้งหมดเป็น 3.8พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 4 ปี
เหตุการณ์ที่สำคัญของระยะห้าวันนี้ในช่วงวันที่ 27 เดือนเมษายนสำหรับเงินปอนด์ ก็คือข้อมูลด้าน GDP ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในช่วงเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม ทางด้านผู้เชี่ยวชาญของสำนักข่าว Bloomberg เองก็คาดว่าจะพบกับการลดระดับของอัตราประจำไตรมาสจากเดิมใน 0.4% เป็น 0.3% ส่วนยอด GDP ประจำปี ก็ยังอยู่ในระดับเดิมที่ +1.4% นอกจากนั้นแล้ว ข้อมูลทางสถิติเองก็อาจจะไม่ค่อยช่วยนักลงทุนให้มีขวัญกำลังใจขึ้นมาจากการเพิ่มระดับของ อัตราดอกเบี้ยตามนโยบายในเดือนพฤษภาคม และจะช่วยการปรับตัวขึ้นไปของคู่สกุลเงิน GBP/USD
ทางเทคนิคแล้วจะพบว่า การดำเนินการของกราฟรูปแบบ "ฉลาม" นั้นจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการที่มูลค่าจะลดระดับลงไปที่ได้วิเคราะห์ไว้ต่ำกว่า 1.38 ระหว่างที่เงินปอนด์ก็มีการซื้อขายสูงกว่าระดับ $1.37 (5 จุดในกราฟรูปแบบ "Broadening wedge") ซึ่งสถานการณ์ก็ยังคงควบคุม "แนวโน้มขาขึ้น" อยู่ในตอนนี้
ชาร์ตรายวันของคู่สกุลเงิน GBP/USD